เราจำเป็นต้องมีข้อมูลหรือ ดาต้าก่อน
จากนั้น จับดาต้าเหล่านั้น ใส่ในตาราง ที่แบ่งเป็น คอลัมน์ และเป็นแถว โดยจะต้องมีการกำหนดหัวข้อ หรือชื่อของคอลัมน์ ที่เข้าใจได้
เรคคอร์ด Record จะถูกเก็บเป็นแถวเดียว ในตารางข้อมูล
ทำความเข้าใจว่า การเก็บข้อมูล หรือเก็บ Record นั้น เราต้องการที่จะแยกเก็บ ตามชนิดของดาต้า เช่น ลูกค้า สถานที่ทำงาน หรือ รายการสินค้า เป็นต้น
Tables หรือตารางคือที่เก็บข้อมูลเรคคอร์ด
ตารางคือที่เก็บข้อมูลเรคคอร์ด ชนิดเดียวกัน
ยกตัวอย่างตารางลูกค้า
ชื่อแรก | นามสกุล | โทรศัพท์ | ที่อยู่ |
Alex | Green | 02548753254 | กรุงเทพ |
Column คอลัมน์ คือข้อมูลตารางของเรคคอร์ด ที่แชร์ ข้อมูลชนิดเดียวกันของแถว เช่น ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ เป็นต้น
โดยแต่ละแถว จะมี ค่าเฉพาะของแต่ละคอลัมน์
พยายามคิดถึง ตารางในรูปของ แบบฟอร์ม ที่ทุกคน กรอกข้อมูล เหมือนๆ กันในทุกช่อง แต่ข้อมูล ของแต่ละคนแตกต่างกัน
ชื่อแรก | นามสกุล | โทรศัพท์ | ที่อยู่ |
ต้น | ไปอนุ | 258465588 | ลพบุรี |
ปลาย | มาดิน | 015785568 | กรุงเทพ |
การเปลี่ยนแปลงข้อมูล จะเป็นการแก้ไข เพิ่ม ลบ ต่างๆ จะเป็นการทำที่แถวข้อมูล แต่ว่า โครงสร้างของตารางคงอยู่
ดังนั้น ในการทำแอพ หรือทำฐานข้อมูล สิ่งแรก ที่ต้องคิด คือ Table หรือ ตาราง แน่นอนเราจำเป็นต้องมีหลาย ตาราง เพราะเราจะมีข้อมูลที่แตกต่างกัน
ในตาราง Excel เราสร้างๆฟลืเดียว แต่สามารถเพิ่มแผ่นงาน หรือ worksheet ได้หลายๆ แผ่นงาน เพื่ออ้างอิง หรือเก็บข้อมูลที่แตกต่างกัน
ตัวอย่าง เช่น แอพ ห้องสมุด ก็จะมีตาราง 2 ตาราง ขั้นต่ำ คือ ตารางหนังสือ และตารางการยืมหนังสือ เป็นต้น
จากนั้น ค่อยคิดต่อว่า แต่ละคอลัมน์ของตารางต้องการ ข้อมูลอะไรบ้าง
เช่น
ตารางหนังสือ
ชื่อหนังสือ | ผู้แต่ง | สำนักพิมพ์ | ลิขสิทธิ์ |
ตารางยืมหนังสือ
ยืม | คืน | ชื่อหนังสือ | สมาชิก |
อย่าเก็บข้อมูลซ้ำ
ถ้ามีคอลัมน์ ที่จะมีค่าของข้อมูล ซ้ำๆ หลายๆ แถว ให้พิจารณา นำออก และไปจัดตั้งตารางใหม่ ปกติแล้ว มักจะเป็นค่า อธิบาย คน สถานที่ สัมพันธ์กับข้อมูลแถว
เราควรแยกทำตารางสมาชิก ออกมาเป็น
ตารางสมาชิกห้องสมุด
ชื่อ | อีเมล |
แทน | พัตรรา |
ให้แต่ละแถวมีเอกลักษณ์
ในตารางข้อมูล ควรจะมีอย่างน้อย 1 แถว ทำเป็น Key หลัก คือ ห้ามมีข้อมูลซ้ำกัน และสามารถใช้อ้างอิงกันได้
คิดไรไม่ออก อย่างน้อย ทุกตาราง ให้มี ID หรือ ลำดับ ที่ข้อมูล จะไม่ซ้ำกัน
เลี่ยงรายการข้อมูล
ตาราง สามารถเก็บค่าได้เพียงรายการเดียวเท่านั้น เช่น ในตารางข้อมูล เราต้องการข้อมูล รถยนต์ในตาราง แต่เรามีรถยนต์หลายคัน
id | ชื่อ | ที่อยู่ | รถยนต์ 1 | รถยนต์ 2 | รถยนต์ 3 |
แยกตารางออกมาดีกว่า
id | ชื่อ | ที่อยู่ |
id | ชื่อรถ |
เมื่อเราแยกเก็บข้อมูลเป็นตารางๆ จะต้องมีสักแถว ของตาราง ที่เราจะสร้างความสัมพันธ์ หรืออ้างอิงกัน หรือทางแอพจะเรียกว่า Ref
โดยจะต้องเป็น Key หลัก ของตาราง
ความสัมพันธ์แบบ one -to-many
ยกตัวอย่าง 3 ตารางคือ
ตารางรีวิวหนังสือ
ตารางหนังสือ
ตารางสมาชิก
เราต้องการให้ตาราง หนังสือ มีความสามารถในการเรียกดูข้อมูล การรีวิวหนังสือ ของสมาชิกที่ยืมหนังสือไปอ่านได้
เราก็สร้างความสัมพันธ์จากตาราง รีวิว มายัง ตารางหนังสือ
ความสัมพันธ์แบบ Many -to -Many
สำหรับ พื้นฐาน การสร้างตารางและความสัมพันธ์แบบต่างๆ เราจะได้ อัพเดท เนื้อหา และตัวอย่างให้ ในโอกาส ต่อๆ ไป ฝากติดตาม และรับชม ด้วย
ถึงตอนนี้ เราได้รู้พื้นฐาน การสร้างตาราง สำหรับการทำแอพต่างๆ แล้ว อย่าลืม ลองผิด ลองถูก ลงมือ ทำตามที่ Sheet และ Appsheet
การตั้งชื่อ คอลัมน์ ของตาราง ให้เป็นตัวหนา นิดหนึ่ง appsheet จะได้รู้จัก ว่า เป็นชื่อคอลัมน์ และทำแอพ ต่อ ให้เรา ง่ายขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น