ปกติก็จะเป็น รหัสประจำตัว ปชช. 13 หลัก
เบอร์โทรศัพท์
รหัสสินค้า เป็นต้น
อาจจะเป็นตัวเลข อย่างเดียว หรือ ข้อความอย่างเดียว หรือ ลูกผสม ทั้งตัวเลขและตัวอีกษรผสมกัน
จากนั้น จะแปลงข้อความ หรือ ตัวเลขรหัสรายการ เป็นแท่งรหัสบาร์โค้ด หรือ คิวอาร์โค้ด
จากนั้น ใช้อุปกรณ์ อ่านรหัส บาร์โค้ด หรือ คิวอาร์โค้ด ในการอ่านข้อมูล เพื่อนำเข้าข้อมูล เพื่อการสืบค้นข้อมูล เป็นต้น
กล้องโทรศัพท์มือถือ ของทุกคน ใช้ถ่ายรูปและถ่ายวีดีโออย่างเดียว มันก็ดูไม่คุ้มค่า ลองใช้งานกล้องมือถือ ทำงานคล้ายๆ อุปกรณ์อ่านรหัสบาร์โค้ด หรือ คิวอาร์โค้ด ได้ไหม
ตอบได้เลยว่า ได้ครับ และทำได้ดี ไม่แพ้อุปกรณ์ สำหรับบันทึกและอ่านอ่าบาร์โค้ด โดยตรงเลยไหม ก็น่าจะดีกว่านะ
เพราะ กล้องมือถือ อ่านค่าแล้ว สามารถบันทึก หรือ ส่งข้อมูลไปยัง Cloud Server น่าจะง่าย รวดเร็ว กว่าอุปกรณ์ในการอ่านค่าบาร์โค้ด
ในการสร้างแอพ sheet
ก็จะมีความสามารถของการ ใช้กล้อฃมือถือ ในการสแกนบาร์โค่ด ในการบันทึก ค้นหา ข้อมูล ได้เช่นกัน
ในหลังบ้านการพัฒนาแอพ ไปที่ Table หรือ ตารางฐานข้อมูล ที่กำลังพัฒนา
โครงสร้างตาราง หรือ column structure
เลือก คอลัมน์ที่ต้องการกำหนดค่า ในการสแกน รหัสบาร์โค้ด
คลิก OTHER ภาษาไทย คือ อื่นๆ
เลือก Scanable หมายถึง สามารถสแกนได้
ตั้งค่าแล้ว ก็ลองทดสอบดูสิครับ
ได้ 2 วิธีด้วยกัน คือ
บนมือถือ และบนคอมพิวเตอร์ สะดวกแบบไหนก็เลือกแบบนั้น น่าจะได้ผลเท่ากัน
แต่แนะนำให้ลองทั้งสองแบบ
การอ่านบาร์โค้ด ผ่านโปรแกรมเว็บ หรือภาษาพัฒนา เรียกว่า Browser จะไม่รองรับ นะ แต่ ต้องใช้ตัวช่วยจำลองหน้าจอของ Appsheet หรือ Emulatot บนหน้าจอทำแทน
ส่วน ทดสอบบนมือถือ จะรองรับ และสะดวกกว่า เลยนะ
ข้อจำกัดการสแกนรหัสบาร์โค้ด
รองรับ กล้องหลักของมือถือ
รองรับค่า QR-CODE แบบแถวเดียว เท่านั้น ถ้าแบบหลายบรรทัด ยังไม่รองรับ
ใช้โปรแกรม ท่องเน็ตในการสแกนไม่ได้ จะแสดงค่า "111122333"
รูปแบบค่าบาร์โค้ด และ คิวอาร์โค้ด ที่ AppSheet รองรับ ได้แก่
- UPC-A and UPC-E
- EAN-8 and EAN-13
- QR Code
- Interleaved-Two-of-Five (ITF)
- Code 39
- Code 93
- Code 128
- Codabar
- Data Matrix
- PDF 417
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น