สร้างแอพฟรีที่ AppSheet

ปัจจุบันการสร้างแอพใช้งานบนมือถือ ถือว่านิยม และผู้ใช้งานทั่วไป สามารถสร้างแอพได้เอง โดยไม่จำเป็นต้องเป็นโปรแกรมเมอร์ หรือวิศวะกรคอมพิวเตอร์อีกต่อไป ด้วยรูปแบบของการ สร้างแอพ ด้วยการ ลากวาง และกำหนดค่า คุณสมบัติการใช้งาน และการเชื่อมโยงเล็กน้อย เราก็จะได้แอพมาใช้งานตามวัตถุประสงค์และความต้องการ 

ขั้นตอนการสร้างแอพที่ Appsheet จะมีหลักการสำคัญ 6 ขั้นตอนด้วยกันคือ 
กำหนดคุณลักษณะเฉพาะของงาน หรือสภาพแวดล้อมการทำงานของคุณ
สร้างตารางข้อมูลด้วยโปรแกรม Darta Spreasheet เช่น Ms Excel 
นำเข้าตารางข้อมูล Excel Sheet 
กำหนดส่วนติดต่อผู้ใช้งาน หรือ UX
ปรับแต่งการทำงานของแอพ Behavior
ทบทวนความปลอดภัยการใช้งานแอพ 

ขั้นตอนแรก ความต้องการเฉพาะ 
มองข้อมูลรอบ ๆ ตัวสภาพแวดล้อมการทำงาน ข้อมูลอะไรที่ต้องการ บริหาร จัดการ หรือ ต้องการจัดเก็บ เพื่อนำมาวิเคราะห์ ประมวลผล 

การจัดเก็บข้อมูล ควรแยก เก็บเฉพาะตามตาราง แบ่ง หมวดหมู่การจัดเก็บ เช่น พนักงาน ,งาน , ที่ตั้ง และ ลูกค้า เป็นต้น 

ทุกๆ ค่า จะมีคุณสมบัติเฉพาะ เช่น ตารางลูกค้า จะมี ข้อมูล พวก ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทร อีเมล เป็นต้น และควรจะมีคุณสมบัติของข้อมูล ชนิดเดียวกัน แต่ต่างค่ากัน 
ค่าที่แตกต่างกันในตาราง ช่วยระบุความแตกต่าง เช่น พนักงาน อาจจะมีรหัสพนักงาน ที่แตกต่างกัน 


สุดท้าย แต่ละตาราง จะมีความสัมพันธ์กัน เช่น ตาราง งานหนึ่ง สำหรับ ลูกค้า หรือ ใน ตึกหนึ่ง มอบหมายให้พนักงานคนหนึ่ง   งาน อ้างถึง ลูกค้า และ อาคาร และ พนักงาน เป็นต้น 


ขั้น 2 สร้างตารางข้อมูล หากทำงานระบบ onlione แนะนำให้ใช้ Google Drive ตารางข้อมูล Spreadsheet 
ในตารางข้อมูล ค่าที่ต้องการเก็บหรือ Entities แยกเก็บตามคอลัมน์ เช่นตาราง ลูกค้า 
 ชื่อแรก ชื่อสกุล โทรศัพท์# อีเมล
 ท้อบวงสว่าง  0817563235 top@123.com

ขั้น 3 นำเข้าข้อมูล 
ขั้นนี้ ไปที่ Appsheet.com แล้ว ไปที่นำเข้าข้อมูล ที่เราสร้างไว้ 
ขั้น 4 ออกแบบส่วนติดต่อผู้ใช้งาน 
มุมมอง View 
จะมี 2 แบบด้วยกัน คือ หลักPrimary  กับ เมนู Menu 
แบบ Primary จะเป็นค่าหลัก จะมีปุ่มคำสั่ง บริเวณด้านล่างจอ และใช้งาน บ่อย 
แบบ menu จะมีหัวข้อเมนูให้เลือกใช้งาน 

แบบฟอร์ม ติดต่อผู้ใช้งาน Form 
Appsheet ฉลาดพอที่จะสร้างแบบฟอร์ม สำหรับทุกตาราง ที่เรานำเข้ามา เพื่อติดต่อกับผู้ใช้งาน เราเพียงแก้ไข และปรับปรุงเล็กน้อย เพื่อใช้งาน ตามต้องการ 

ขั้นตอน 5 ปรับแต่งคำสั่งการทำงานของแอพ App behavior 
หลักพื้นฐานแอพ ก็ คือ การเปิดหน้า การ เดินหน้า การย้อนกลับ การบันทึกภาพ การบันทึกข้อมูล การซิงค์ข้อมูล ทำข้อมูลให้ตรงกัน กับตารางข้อมูล ส่วนหลังบ้าน backend 
1 การตั้งค่าแบบตายตัว
2 ตั้งค่าแบบไม่ตายตัว
3 การกระทำ
4 การทำงานอัตโนมัติตามผังงาน 

แบบ static กับแบบ dynamic
แบบตายตัว static จะง่ายสุด ค่าของข้อมูล จะมีผลกับข้อมูลในคอลัมน์ เช่น อ่านได้อย่างเดียว หรือ แก้ไขได้ 
ส่วนแบบที่เหลือ 3 แบบ จะช่วยเสริม เพิ่มประสิทธิภาพ การทำงานของแอพ ของตารางข้อมูล ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น 
นิพจน์ Expression 
รูปแบบข้อความภาษาของ appsheet มักอ้างอิงถึงแถวข้อมูลในตาราง เช่น นิพจน์ [สถานะ] = "จบงาน" 
โดยที่นิพจน์ สามารถเชื่อมโยงเงื่อนไข เช่น และ ([สถานะ] = "จบงาน", [ปริมาณ] > 5))

แบบ Dynamic หรือ พลวัตร แสดงผล ตามเงื่อนไขที่ระบุ เช่น คอมลัมน์นี้ แสดงผล สีแดง เมื่อ เงื่อนไข ตรงตามที่ระบุในนิพจน์ 
ความสำคัญของนิพจน์ในการทำงานของแอพ 
แบบ 1 Virtual column แบบจำลองข้อมูลเพื่อคำนวณค่าทำงานของแอพ
แบบ 2 Virtual Tables แบบจำลองย่อยของตาราง ดึงมาเพียงแถวหรือ คอลัมน์ที่ต้องการใช้งาน 

อธิบาย Action พื้รฐานคำสั่งการทำงาน เช่น การเลื่อนหน้าแอพ ไปหน้า ถอยหลัง การส่งข้อมูล sms ,email หรือ โทรออก  เป็นต้น 

การทำงานอัตโนมัติตามผังงาน Workflow
เป็นรูปแบบการทำงานที่ซับซ้อนขึ้นมา และอาจจะต้องใช้เวลา ในการศึกษา และทดสอบการทำงาน 
ขั้น 4 การทบทวนความปลอดภัย
แอพแนะนำให้แชร์ และทดสอบการใช้งาน โดยผู้ใช้งาน ที่เชื่อถือได้ ก่อนที่จะมีการปรับปรุงและแก้ไข ต่อไป 
ควบคุมการเข้าถึงแอพ 
ใช้งานส่วนตัว หรือ ธุรกิจ สามารถเลือกได้
การควบคุมระดับ UX 
เลือกเปิดหรือปิดได้ตามระดับผู้ใช้งาน 
ควบคุมการเข้าถึงระดับตารางข้อมูล

ควบคุมการเข้าถึงระดับ Behavior 

การแก้ไข ปรับปรุงแอพ 

ไม่มีแอพใด ออกแบบมาแล้ว ไม่มีการแก้ไขปรับปรุง เพราะเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ สำหรับคนทำแอพแล้ว การแก้ไข ปรับปรุงคือ ส่วนหนึ่งของการทำงานแอพ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น