การใช้งานอินเตอร์เน็ตบนมือถือของค่ายต่างๆ ในรูปแบบของ 3G/4G ของประเทศไทยผ่านค่ายมือถือต่างๆ ทั้งแบบเติมเงินและแบบรายเดือน
ถวาว่าทำไม่ต้องมีการกำหนด Data ในการใช้งาน เป็นจำนวน MB หรือ GB
เนื่องจากว่า หากไม่มีการกำหนดจำนวน Data ในการใช้งานแล้ว แนน่อนว่า วัตถุประสงค์ในการใช้งาน เช่น ใช้แค่ รับส่ง อีเมล แชต หรือวีดีโอคอลแบบ Face time กับเพื่อนๆ หรือครอบครัว หรือใช้ Social App เช่น Line หรือ Facebook แบบนี้ มันก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร
แต่ความเป็นจริง มันไม่ได้เป็นอย่างนั้น เพราะจะมีคนจำนวนมากที่นำไปใช้งานส่วนตัว ในเรื่องของ ดาวโหลด ไฟล์หนัง ไฟลืเกมส์ต่างๆ ที่มีขนาดข้อมูลจำนวนมาก เช่น เกมส์ขนาด 500 MB หรือหนัง HD ขนาด 2GB ต่อ 1 เรื่อง เป็นต้น
นี้คือปัญหา กระทบกับการให้บริการ ในภาพรวมของผู้ใช้บริการ หรือลูกค้าอื่นๆ ของค่าย ซึ่งจะต้องบ่น และร้องเรียนปัญหาการใช้งานเข้ามาไม่หยุด เช่นกัน
ทางค่ายมือถือ หรือผู้ให้บริการก็เลยต้องมีการกำหนด จำนวนของ Data ในการใช้งาน ให้เหมาะสมกับ งบประมาณ และจำนวนเงินของแต่ละแพกเกจ ให้เหมาะสมนั้นเอง เรียกทางการ ตามที่ค่ายมือถือ และหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านสื่อสาร กสทช.กำหนด คือ Fair Usage Policy (FUP) หรือการจำกัดความเร็วในการใช้งานเครือข่ายโทรศัพท์มือถือในการเชื่อมต่อดาต้าเพื่อใช้งานอินเทอร์เน็ต เมื่อครบปริมาณการใช้งานที่กำหนดไว้ สามารถดูเพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่องของ FUP ได้ที่ http://www.it24hrs.com/2012/fair-usage-policy-3g/
มาต่อกัน ดีกว่าว่า
จะเกิดอะไรขึ้น เมื่อมีการใช้งาน ดาต้าครบตามจำนวนที่ ทางค่ายกำหนดแล้ว
กล่าวคือ คุณผู้ใช้งาน จะยังสามารถใช้งาน หรือเล่นอินเตอร์เน็ตต่อไปได้ ตามปกติ แต่อัตราหรือความเร็วในการรับส่งข้อมูลจะถูกจำกัดหรือลดความเร็วลงมา เช่น ความเร็วในการเล่น เป็น 1-2 MB อาจจะลดเหลือ แค่ 256 kb หรือ 512 kb เป็นต้น
สำหรับ USer หรือลูกค้า
จำให้ดีว่า
จำนวนของ Data ในการใช้งาน กับ ความเร็วในการรับส่งข้อมูล เป็นคนละอย่างกัน
เช่น data ของลูกค้าเป็น 10 GB ก็ไม่ได้แปลว่า ความเร็วในการรับส่งข้อมูลเท่ากับ 10 GB. เป็นต้น
แต่ที่แน่นอนคือ ถ้าคุณใช้ Data ครบ ซึ่งมีหลักเกณฑ์ในการวัดหรือการคำนวณการใช้งานดาต้าที่ทุกค่ายต่างก็ทำออกมาให้ลูกค้าลองคำนวณดู เช่นของ AIS http://www.ais.co.th/4g/data-calculator/
ยกตัวอย่างให้ ดู ในกรณีของผม ต้องการใช้สำหรับการ คุยแบบ Facetime กับครอบครัว ผ่าน แอพ skype และ Hang Out เป็นประจำวันละ 1 ชั่วโมง
ถ้าใช้แพค Data ขนาด 1GB ผมก็จะคุยได้แค่ 3-5 ชั่วโมง ก็หมด ดาต้าแล้ว
ซึ่งผมเองก็จะยังได้รับสิทธิ หรือสามารถที่จะคุยกับครอบครัวต่อได้อีก แต่ความเร็วในการใช้งานจะลดลงเหลือตามที่แต่ละค่ายกำหนด ซึ่งเท่าที่ทราบ ทุกๆ ค่ายก็จะใช้หลักการเดียวกัน นี้หมดละครับ
เท่าที่ผมทราบ
เพียงแต่เราต้องมาลองดูว่า แต่ละค่าย เมื่อเราใช้งา ดาต้า ตามแพกเกจที่ระบุหมดแล้ว มันจะเหลือ ความเร็วขั้นต่ำ เท่าไหร่ ซึ่งแน่อนว่า มันก็ไม่เท่ากัน และต่างกัน เพียงเล้กน้อย เป็นนโยบาย และกลยุทธ์ทางการตลาดของแต่ละค่าย ในการทำธุรกิจครับ
ส่วนตัวเท่าที่เคยใช้งาน และสอบถามหรือทดลองกับเพื่อนๆ ร่วมงานทั้ง 3 ค่ายหลักของเมืองไทย คือ AIS ,TRUE และ DTAC พบว่า หลังการใช้ดาต้าหมด ความเร็วที่ปรับลดลงหรือในหลัก 384 KB และ 512 KB ยังสามารถใช้งาน Skype หรือ Hang out ในการสนทนาและการประชุมทางไกล ได้ ในระดับที่สื่อสารกันได้ ทั้งภาพและเสียง ตามเวลาจริง Real time ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด ทั้ง 3 ค่าย ครับ
แต่อาจจะเหลื่อมล้ำ หรือ ขบกันนิด ๆ ซึ่งมีปัจจัย ในเรื่องของการคลอบคลุมของเสาสัญญาณของผู้ให้บริการ ไปจนถึง อุปกรณ์ คือ เครื่องโทรศัพท์ของเราเองก็มีส่วน หมายถึงรุ่น และ CPU และ RAm ในการทำงานก็มีส่วนด้วยเช่น กัน
เป็นข้อมูลที่สรุปจากประสบการณ์ตรงของ Admin และรวบรวมเนื้อหาที่เกี่ยวข้องจากเว็บไซต์ของผู้ให้บริการด้วย อย่างไรก็ตาม เพื่อความถูกต้องและชัดเจน กรุณาสอบถาม จาก จนท.ผู้ให้บริการของแต่ละค่าย อีกครั้ง เป็นดีที่สุด
ليست هناك تعليقات:
إرسال تعليق