ขั้นตอนการเขียนบทความแบบเบสิกๆ

บทความแปล ขั้นตอนการเขียนบทความแบบเบสิกๆ
STEP 1: SELECT YOUR TOPIC.
เลือกหัวข้อการเขียน 
หาหัวข้อที่คุณสนใจ และอย่าให้หัวข้อมันกว้างเกินไป เช่น ถ้าคุณต้องการเขียนเกี่ยวกับ การตกแต่งบ้าน ก็ควรจะกำหนดกรอบของบ้านให้ชัดเจนหรือแคบลงไป ว่าบ้านแบบไหน สไตล์ไหน เช่น การตกแต่งบ้านสไตล์คันทรีด้วยงบประมาณไม่เกิน 50000 บาท เป็นต้น ซึ่งจะทำให้หัวข้อหรือ Topic ของคุณแคบขึ้น ง่ายต่อการเขียนและหาข้อมูลประกอบ 

หลังจากนั้นก็ลงมือเขียนแบบร่างหรือ Draft ซึ่งควรจะรวมข้อมูลทุกสิ่งทุกอย่างๆ ที่คุณสามารถคิดออก พยายามทำตัวสบายๆ ไม่วิตกกังวล ปลดปล่อยความคิดและจินตนาการของคุณอย่างเต็มที สนุกกับความรู้ที่คุณมีและคุณต้องการจะแชร์หรือแบ่งปันให้คนอื่นๆ ได้รับรู้รับทราบ ผ่านเนื้อหาหรือบทความของคุณ คุณก็จะได้แก่นเนื้อหาสาระที่ต้องการจะเขียน และควรจะปล่อยระยะเวลาอีกสักระยะหนึ่ง 
STEP 2: ADDRESS YOUR AUDIENCE’S NEEDS.
ระบุความต้องการของคนอ่าน 
สมมุติตัวเองว่าเป็นคนอ่าน คุณจะได้รับความรู้หรือสาระ หรือความบันเทิงอะไรจากบทความนี้ เลือก 3 คำ ที่ต้องการสื่อกับคนอ่าน เช่น อาชีพ คนโสด หรือ ข้าราชการ เป็นต้น ตั้งคำถามที่อยากรู้ อาจจะยังไม่รู้คำตอบก็ไม่เป็นไร เราต้องหาคำตอบให้ได้ในขั้นตอนต่อไป 
STEP 3: RESEARCH.
การรวบรวมข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา 
  • สถิติ
  • คำพูดของคนดัง
  • คำนิยาม
  • ตัวอย่างประกอบ
  • คำกล่าวหรือตัวอย่างเนื้อหาจากคนดัง
  • อ้างอิงข้อมูล

การวิจัย 
ค้นคว้าหรือหาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง รวบรวมและเรียบเรียงในแฟ้มข้อมูล จะเป็นสิ่งพิมพ์หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ไฟล์เอกสาร ต่างๆ จากอินเตอร์เน็ต เป็นต้น อย่าลืมแหล่งที่มาของข้อมูล สำหรับการอ้างอิงภายหลังด้วย 
STEP 4: TIGHTEN YOUR DRAFT.
กระชับร่างบทความ 
เอาคนอ่านเป็นศูนย์กลาง แล้วกระชับร่างบทความของคุณให้กระชับขึ้น เสริมด้วยข้อมูลจากการรวบรวม บางครั้งข้อมูลจากการรวบรวมอาจจะส่งผลให้คุณย้อนกลับไปขั้นตอน 1 ใหม่ ก็เป็นได้ 
ทดลองอ่านบทความของคุณด้วยตนเอง และลองดูว่ามันใช้ไ้ด้หรือยัง กว้าง หรือแคบเกินไปหรือเปล่า น่าสนใจหรือเปล่า คลุมเครือ หรือเปล่า เป็นต้น ซึ่งคุณก็ต้องทบทวนและแก้ไขอีกครั้ง ให้บทความมันดีขึ้น ในภาพรวม

STEP 5: MAKE IT SPECIFIC.
ทำให้ตรงวัตถุประสงค์ของเรื่อง 
เช็คอีกครั้งว่า บทความของคุณ มีเนื้อหาครบถ้วน และเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของบทความจริงๆ เช่น วิธีการทำอาหารเย็นด้วยงบจำกัดในวันขึ้นปีใหม่ หรือการเล่นรักบี้ เป็นต้น 
STEP 6: READ, REVISE, REPEAT.
อ่านบทความให้เพื่อนๆ ของคุณฟัง ดูว่าเขาว่ายังงัยกันบ้าง ลองถามคำถามพวกเขาดู เช่น เข้าใจ ขั้นตอน หรือวิธีการไหม มีขั้นตอนไหนข้ามหรือหายไปหรือเปล่า มีข้อมูลอะไรที่ต้องการเพิ่มไหม ทำตามได้ไหม คำแนะนำอื่นๆ 
รายการตรวจสอบ 
  • มีขั้นตอนและเนื้อหาที่อธิบาย ครบถ้วน สมบูรณ์ สามารถทำตามได้จริง?
  • มีการกำหนดลำดับขั้นตอนสำคัญชัดเจน ?
  • ขั้นตอนเป็นไปตามลำดับ 
  • ใช้คำนำขั้นตอน เช่น ขั้นตอนแรก ขั้นต่อมา ขั้นสุดท้าย เป็นต้น 
  • มีการเตือนข้อผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้น?
เรียบเรียงเนื้อหาใหม่ อ่านออกเสียง ตรวจคำสะกด ถูกผิด หาคนช่วยอ่าน จนคุณมั่นใจและพอใจแล้ว จึงเผยแพร่บทความ หรือเนื้อหาของคุณต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น