การสร้างฐานข้อมูลห้องสมุดโรงเรียนด้วยโปรแกรม MS Access ตอนที่ 1

โปรแกรม MS Access เป็นโปรแกรมที่ออกแบบมาสำหรับการพัฒนา หรือสร้างฐานข้อมูล ใช้งานด้านต่างๆ ที่ง่ายและน่าสนใจ ในการทำงานอีกตัวหนึ่ง
สำหรับบทความวันนี้ จะมาแนะนำขั้นตอนและวิธีการออกแบบฐานข้อมูล ห้องสมุดง่ายๆ ด้วยตนเอง สำหรับผู้สนใจ หรือ นักเรียน หรือครูอาจารย์ ตามสถาบัน หรือ โรงเรียนต่างๆ ที่สนใจและต้องการที่จะมีโปรแกรมฐานข้อมูล ห้องสมุดมาช่วยในการทำงาน ครับ
ได้แก่ การบันทึกข้อมูลหนังสือ
การบันทึกข้อมูลสมาชิก น่าจะเป็น นักเรียน และครู กันเอง นะครับ
รายละเอียดการยืม
และการส่งคืน
ก็คงง่ายๆ เท่านี้ครับ
สำรวจความพร้อม อุปกรณ์
คอมพิวเตอร์ วินโดว์ xp,7,8,10 พร้อม MS Access 2007,2010,2013,หรือ 2016 ก็ได้
ขั้นตอนแรกของการออกแบบฐานข้อมูลคือ
เปิด MS access ขึ้นมา
จากนั้น ให้ทำการออกแบบตารางขึ้นมา จำนวน 4 ตารางด้วยกัน โดยตั้งชื่อตารางดังนี้
book เก็บรายละเอียดหนังสือ
bookid รหัสหนังสือ ชนิดข้อมูล number และกำหนดให้เป็น Key หลัก ด้วย
booktitle ชื่อหนังสือ
booksubject หมวดหมู่หนังสือ
bookpublisher สำนักพิมพ์
bookstatus สถานะภาพหนังสือ
Author ผู้แต่ง


ตารางสมาชิกห้องสมุด สำหรับเก็บรายละเอียด ชื่อที่อยู่ของสมาชิก ที่สามารถยืมหนังสือของห้องสมุดได้ น่าจะเป็นนักเรียน และครู นั้นแหละ
บันทึกตารางชื่อ Member
มีจำนวนของตารางข้อมูลดังนี้
memberid รหัสสมาชิก ชนิดข้อมูล number เป็น key หลักด้วย
membername ชื่อสมาชิก
memberlastname นามสกุลสมาชิก
memberstatus สถานภาพสมาชิก

ตารางการยืมหนังสือ สำหรับเก็บรายละเอียดการยืม คนยืม ยืมหนังสืออะไร วันที่ยืม วันที่กำหนดส่งคืน 
ตาราง borrow
borrowid หมายเลขการยืม ชนิดข้อมูล Autonumber 
borrowdate วันที่ยืม ชนิดข้อมูล Date/time
returndate วันที่ส่งคืน ชนิดข้อมูล Date/time
bookid รหัสหนังสือ ชนิดข้อมูล number
Memberid รหัสสมาชิก ชนิดข้อมูล number
status สถานะภาพ ชนิดข้อมูล text

ตารางเก็บรายละเอียดการคืนหนังสือ 
ชื่อตาราง Return
Returnid หมายเลขการคืน  ชนิดข้อมูล Autonumber 
BorrowID เลขที่การยืม   ชนิดข้อมูล number
bookid รหัสหนังสือ ชนิดข้อมูล number
ActDateReturn วันที่กำหนดส่งคืน  ชนิดข้อมูล Date/time
LateDay จำนวนวันที่เกินกำหนดการส่งคืน   ชนิดข้อมูล Number

Fine ค่าปรับ กรณี ส่งช้า ตัวนี้ โรงเรียนจะคิด หรือไม่คิดก็แล้วแต่ แต่ตามตัวอย่าง เขาคิดให้ดูเป็นแนวทาง ส่วนใครจะทำตามหรือจะเปลี่ยนใช้เป็นอย่างอื่นๆ ก็แล้วแต่ 



สร้างและบันทึกตารางให้ครบ 4 ตารางในขั้นตอนี้ก่อนครับ แล้วก็ เพิ่มเติม โดยการไป Add รายการ รายละเอียดหนังสือ ในตาราง book สำหรับใช้ในการฝึกการทดสอบการทำงานของฐานข้อมูลกันสัก 2-3 เล่มกันก่อน ครับ

ก็มีเพียงเท่านี้ครับ ในตอนที่ 1 สำหรับตอนต่อไป ผมจะได้มาแนะนำขั้นตอนการออกแบบฐานข้อมูล เพื่อเชื่อมโยงการทำงานต่างๆ เพิ่มเติม ก็อย่าลืมติดตามกันต่อไปนะครับ 

هناك تعليق واحد:

  1. อันนี้ไม่มีอันต่อแล้วหรอคะ;-;

    ردحذف