เริ่มกันเลยครับ
1 การขยับเข้าไปให้ใกล้กับวัตถุหรือภาพที่เราต้องการถ่าย ให้ชัดเจนหรือมองเห็นเด่นชัดขึึ้น
2 ความเร็วในการถ่าย เพราะบางอย่างเรามีโอกาส หรือเวลาในการถ่ายไม่มาก
3 ความสมดุลหรือบาลานซ์ จริงอยู่แม้ว่าเราอาจจะไม่ถ่ายภาพเพื่อขาย แต่ภาพที่เราถ่ายก็ควรจะมีองค์ประกอบครบที่สมดุล สวยงาม ซึ่งจะเป็นที่สนใจของผู้พบเห็นได้ดีกว่า การกำหนดจุดนำสายตาไปยังภาพ โดยใช้เส้นหรือรูปแบบ
- รักษาระดับของภาพ
- ตัดองค์ประกอบภาพที่ไม่น่าสนใจออกไป
- จัดให้วัตถุที่เราต้องการถ่ายอยู่ในตำแหน่งที่สมดุลมากที่สุด
- การให้มีมิติองภาพ เช่น สูง ต่ำ ที่สามารถดึงเข้าสู่จุดสนใจ
- ใช้กฏการถ่ายภาพ 3 ส่วน
เพ่งความสนใจไปยังวัตถุที่เราต้องการเพียงอย่างเดียว ตัดส่วนประกอบอื่นๆ ที่อาจจะทำให้คุณค่าของภาพด้อยหรือดึงดูดความสนใจจากภาพหลักไป เช่น สายกล้อง สายโทรศัพท์ หรือนิ้วมือของเราเอง เป็นต้น
5 จับโฟกัสไปที่วัตถุหรือภาพที่เราต้องการถ่าย
การคุ้นเคยกับการตั้งค่ารูรับแสงหรือ การจับโฟกัสภาพของกล้อง โดยอาศัยพื้นฐานต่อไปนี้
- เล็งไปยังวัตถุและให้ได้โฟกัสตรงกลางช่องมอง
- กดปุ่ม shutter ลงไปครึ่งหนึ่ง และค้างไว้
- ขยับกล้องจนกระทั่งองค์ประกอบภาพครบตามที่เราต้องการมากที่สุด
- กดปุ่ม ซัตเตอร์ อีกครึ่ง เพื่อถ่ายภาพ
6 เล่นกับความเร็วของซัตเตอร์
พืนฐานอันหนึ่ง ที่เรามองข้าม คือ การถ่ายภาพแบบช้าลง หรือ แบบเร็วขึ้น ภาพบางภาพอาจจะค่อยๆ แสดง แต่บางภาพก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
ปรับใช้ shutter แบบช้า และใช้าตั้งกล้อง ในการถ่ายภาพน้ำตกหรือลำธาร ในทางกลับกันเราสามารถใช้ซัตเตอร์แบบเร็ว เช่น (1/500 และมากกว่า) ในการจับภาพที่เคลื่อนที่
7 ดูทิศทางของแสง ชนิดของแสง ทิศทางของเงา พื้นฐานมากที่สุดคืออย่าถ่าภาพย้อนแสง เว้นแต่ว่าเราต้องการผลภาพเป็นอย่างอื่น
แสงส่งผลต่อภาพที่เราถ่ายอย่างไรบ้าง
แสงจ้าแจ่ม จะให้ภาพที่ถ่ายชัดเจนมากที่สุด
แสงเข้าด้านข้าง จะให้ภาพในลักษณะของดราม่า แต่ก็จะยากในการจัดความตัดกัน
แสงทางอ้อม จะช่วยให้ภาพดูนุ่มและมีรัศมี
8 ดูสภาพอากาศ ถ้าฟ้าปิดหรือมีพายุ เราก็ควรให้เห็นท้องฟ้มในภาพน้อยที่สุด
9 ตั้งค่าการทำงานของกล้องให้ง่ายและสะดวกต่อการทำงานมากที่สุด
10 กล้าในการถ่าย พร้อมที่จะเรีนรู้และแก้ไข เพื่อให้ดีขึ้น
credit: http://www.betterphoto.com/exploring/tips/10.asp
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น