วิธีการสร้างบล็อกด้วย WordPess


WordPress คือโปรแกรมฟรีแวร์ที่ช่วยให้เราสามารถติดตั้งลงบนว็บไซต์ของเรา เพื่อที่เราจะสามารถเขียนบทความและจัดการบล็อกของเราเอง .โดยทั่วไปแล้วจะทำให้ง่ายในการติดตั้งและการใช้งาน .สำหรับบทเรียนออนไลน์วันนี้จะนำเสนอขั้นตอนของการ ติดตั้งบล็อกด้วย wordpress และการปรับแต่งค่าการใช้งาน เพื่อให้เข้ากับระบบการสืบค้นข้อมูล หรือ SEO นั้นเอง

โดยบทเรียนของวันนี้จะทำให้เราได้รับความรู้เกี่ยวกับการกำหนดค่าต่างๆ ของ wordpress blog

ความต้องการของระบบ
ก่อนที่เราจะมี wordpress blog เป็นของตัวเองเราจะต้องมีสิ่งต่อไปนี้
ประการแรกเว็บโฮสต์ของเราจะต้องรองรับ script ภาษา PHP เนื่องจาก wordpress blog จะต้องใช้ในการแปลค่าภาษาของโปรแกรมใช้งานนั้นเอง .เป็นภาษาที่ wordpress ถูกใช้งานพัฒนาขึ้นมา ดังนั้นเพื่อให้ wordpress blog สามารถทำงานได้อย่างถูกต้อง โฮสต์ของเราจึงต้องสนับสนุนหรือรองรับการใช้งานภาษา PHP ดังกล่าว ซึ่งปัจจุบันโฮสต์ส่วนใหญ่ที่เสียเงินก็สามารถรองรับภาษา PHP ได้อยู่แล้ว ส่วนท่านที่ใช้บริการ โฮสต์ฟรี เท่าที่ทราบในขณะเขียนบทเรียนนี้อยู่สามารถใช้บริการของ freehostia.com ได้ครับ

ประการที่สอง โฮสต์ของเราต้องอนุญาติหรือกำหนดให้เรามีอย่างน้อย 1 MySQL database. WordPress จะเก็บข้อมูลทั้งหมดของเราไว้ในฐานข้อมูลนี้ ,ซึ่งจะเก็บอยู่ในรูปของ database, ทำให้เราสามารถเรียกใช้งานได้อย่างง่ายนั้นเอง . ดังนั้นให้เราตรวจสอบกับทางเว็บโฮสต์ของเราว่ารองรับการใช้งาน MySQL databases หรือไม่

นอกจากนี้บริการเว็บโฮสต์ของเราก็ไม่ควรใส่โฆษณาเข้ามาในเว็บของเรา แม้ว่าสิ่งนี้จะไม่ได้เป็นความต้องการก่อนการติดตั้งและใช้งาน wordpress blog ก็ตามที ,แต่จากการทดสอบที่ผ่านมาเราพบว่าจะเกิดปัญหาในการใช้งานภายหลัง ซึ่งจะส่งผลให้เราไม่สามารถเขียนหรือแก้ไขบทความของเราได้

หมายเหตุ ผมไม่ได้บอกว่าเราไม่สามารถใส่โฆษณาเข้าไปใน wordpress blog ของเรา เพราะว่าโฆษณาที่เราใ่ส่เข้าไปเองและทำอย่างถูกต้อง ในกรณีนี้จะไม่มีปัญหาใดๆ เกิดขึ้น อย่างไรก็ตามโฮสต์ฟรีส่วนใหญ่ มักจะบังคับใส่โฆษณาเข้ามาในเว็บเพจของเรา ซึ่งบางครั้งทำให้ทับกันกับ script ภาษาของ wordpress blog ของเราทำให้เกิดปัญหาขึ้นได้ดังกล่าว

ก่อนที่เราจะว่าฟรี web hosts, เราควรเข้าใจว่าบริการฟรีเว็บโฮสต์เหล่านี้ใช้การโฆษณาเพื่อชดเชยกับการให้บริการเราฟรีๆ นั้นเอง ส่วนฟรีเว็บโฮสต์ที่ให้บริการโดยไม่มีโฆษณามักจะปิดตัวลงอย่างรวดเร็วหลังการใช้งานของเราไม่นานนักนั้นเอง (บทความบนฟรีโฮสต์ของผมถูกปิดตัวลงไปอย่างรวดเร็วภายในชั่วคืนหลังการติดตั้งและใช้งาน wordpress blog )

ตัวเสริมแต่แนะนำ
จะดีมาก,ถ้าเราสามารถใช้งานบน web host ที่ runs ด้วย Apache web server บนระบบ Unixเช่น (Linux, FreeBSD, OpenBSD, etc). แม้ว่า WordPress จะสามารถใช้งานบน web servers อื่นๆ, แต่เราจะมีทางเืลือกที่ มากกว่าในการปรับแต่งค่าการใช้งานของเว็บไซต์และลิงค์ในการเชื่อมโยง ("permalinks")

และแนะนำให้เราจดทะเบียนโดเมนเนมเป็นของเราเองด้วย แม้ว่าตัวของ WordPress ของตัวเอง จะไม่ต้องการในสิ่งนี้ก็ตาม แต่ถ้าเราต้องการสร้าง wordpress blog เป็นของเราเองจริงๆ เราก็ควรที่จะจดโดเมนเนมเป็นของตนเอง คงไม่ดีถ้าเราจะใช้โดเมนเนมที่ยาวๆ ภายใต้โดเมนหลักที่ให้บริการกับเรา และถ้าหากบริการเหล่านี้ปิดตัวลง สิ่งที่เราสร้างมาเป็นเวลานานเป็นปีก็จะหายไป และเราต้องลงทุนสร้างขึ้นมาใหม่ ด้วยชื่อใหม่ url ใหม่ เริ่มการโปรโมทกันใหม่ ซึ่งไม่ใ่ช่สิ่งที่สนุกแน่นอนครับ.

กรณีที่เราจดและมีโดเมนเนมเป็นของตัวเอง ถ้าเราไม่พอใจกับบริการของ web host, เราก็สามารถสำรองข้อมูลของเราไปใช้งานกับผู้ให้บริการ web hosti อันใหม่ได้ , จากนั้นก็ใช้การนำเข้า ข้อมูลสำรองนั้นๆ เข้าไปในฐานข้อมูลได้เลย และเราก็สามารถไปต่อได้เหมือนไม่มีอะไเกิดขึ้น ไม่ต้องสร้างหรือโปรโมทใหม่ให้เสียวลาและอารมณ์ แม้แต่ผู้เยี่ยมชมของเราก็อาจจะไม่ทราบการเปลี่ยนแปลงนี้เลย

วิธีการติดตั้ง WordPress
ตรวจสอบจาก web host ของเราว่าชื่อฐานข้อมูลและเส้นทางที่อยู่ของ MySQL database, ชื่อที่เราจำเป็นต้องใช้ในการเชื่อมต่อกับ MySQL database และ password ของฐานข้อมูล database. ในบางกรณี, web host ของเรา อาจจะกำหนดให้เราสร้างฐานข้อมูลด้วยตัวเราเองจากแถบควบคุมหรือว่า control panel นั้นเอง. ปกติจะมีคำแนะนำในการทำให้อยู่แล้วเราเพียงคลิกและระบุชื่อหรือรหัสผ่านการใช้งานเข้าไปก็เรียบร้อยแล้ว และอย่าลืมที่จะจดข้อมูลทุกอย่างที่เรากรอกเข้าไปกันลืมด้วย เช่น ชื่อ รหัสผ่าน ชื่อฐานข้อมูล เป็นต้น

ไป Download โปรแกรม WordPress ที่ http://wordpress.org/download/ ซึ่งจะอยู่ในรูปของไฟล์ที่ได้รับการบีบอัดไว้หรือ zip ไฟล์

ให้เราคลายไฟล์ ( unzip) ออกมาเก็บไฟล์ในโฟลดอร์บนเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา จากนั้นเปิดโฟลเดอร์ "wordpress" มองหาไฟล์ชื่อ "wp-config-sample.php". ถ้าไม่พบลองมองดูอาจจะอยู่ในไฟล์ชื่อ If you "wp-config-sample" (โดยไม่มีนามสกุล PHP ).

เปิดโปรแกรม แก้ไข text editor แล้วเปิดไฟล์ "wp-config-sample.php" ผู้ใช้งานวินโดว์สามารถใช้โปรแกรม Notepad. โดยไปที่ Start ,Accessories ของ Start เมนู คลิก the "Notepad" . คลิก "File" menu, เข้าไปเลือกเปิดไฟลที่ต้องการแก้ไข

เมื่อเปิดขึ้นมา เราควรจะสังเกตุเห็นบรรทัดของไฟล์แสดงดังนี้

define('DB_NAME', 'putyourdbnamehere'); // The name of the database
define('DB_USER', 'usernamehere'); // Your MySQL username
define('DB_PASSWORD', 'yourpasswordhere'); // ...and password
define('DB_HOST', 'localhost'); // 99% chance you won't need to change this value
define('DB_CHARSET', 'utf8');
define('DB_COLLATE', '');

แทนที่ "putyourdbnamehere" ด้วยชื่อของฐานข้อมูลของเรา .ต้องแน่ใจว่าชื่อของฐนข้อมูลปิดด้วยเครื่องหมาย ' ถ้าชื่อฐานข้อมูลของเราคือ "mywordpressdatabase", เราก็ควรจะได้ตามตัวอย่างด้านล่างครับ

define('DB_NAME', 'mywordpressdatabase'); // จากนั้นแทนที่ชื่อของผู้ใช้งาน
"usernamehere" ด้วยชื่อของผู้ใช้งาน MySQL database , และ "yourpasswordhere" ใส่รหัสผ่านฐานข้อมูลของเราเข้าไป.

บันทึกไฟล์เป็นไฟล์ใหม่ด้วยการใช้คำสั่งบันทึกเป็นหรือ save as เป็น "wp-config.php"อย่าลืมเครื่องหมาย " ก่อนและท้ายของไฟล์ด้วย หาไม่แล้ว Notepad จะเปลี่ยนเป็นนามสกุลเป็น "wp-config.php.txt" ซึ่งเราไม่ต้องการแทน

ตอนนี้ก็เรามาถึงขั้นตอนที่ต้องทำการ upload ไฟล์ของ wordpress ขึ้นไปที่ web hosting ของเรา.โดยปกติเราต้องทำการ upload โฟลเดอร์ wordpress ไปยัง web host ของเรา. ซึ่งจะใช้เวลาในการ upload ค่อนข้างนาน ยิ่ง Net ของเราช้าด้วยยิ่งหนักเข้าไปอีก แต่ถ้า Net ใครเร็วๆ ก็ OK ไม่น่าจะมีปัญหา

เราจำเป็นต้องมีโปรแกรมสำหรับการรับส่งไฟล์โดยเฉพาะพวก FTP program. ซึ่งมีทั้งของฟรีและเสียเงิน สำหรับบทเรียนออนไลน์วันนี้ผมจะไม่ขอพูดถึงรายละเอียดในเรืองนี้ แต่ถ้าคุณสงสัยเกี่ยวกับการติดตั้งและใช้งานโปรแกรม FTP สามารถสืบค้นหาอ่านได้จาก http://thaifreewaredownload.blogspot.com/ เช่น cute FTP ,FileZilla เป้นต้น



ไม่ว่าคุณจะใช้โปรแกรมใด ในการ connect ไปยัง web host คุณสามารถทำได้ในสองแบบคือ

ส่งไฟล์ทั้หมดตรงไปยัง main web directory ของ web hosting ของเรา. เราอาจจะต้องทำอย่างนี้ในกรณีที่ไฟล์ทั้งหมดของ website เป็นของ blog เท่านั้น. หรือว่าเราเป็นมือใหม่นั้นเองจะช่วยให้เราทำงานของเราได้ง่ายขึ้น

วิธีที่สองส่งไฟล์ไปยัง subdirectory (sub-folder) ของ web host ของเรา. วิธีนี้จะมีประโยชน์ถ้า blog นี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของเว็บไซต์ของเราทั้งหมด . วิธีนี้เราจำเป็นต้องกำหนดลิงค์จากหน้า main page ของ website เพื่อ link มาที่ blog ของเรา. ยกตัวอย่างเช่น, ถ้าเราสร้างโฟลเดอร์ชื่อ "blog" ภายใน main web directoryของเรา, ดังนั้นที่อยู่ของ URL ไปยัง blog ของเราก็จะเป็น www.example.com/blog/,

เมื่อเราทำการ upload เรียบร้อยแล้ว จากนั้นให้เราเปิดโปรแกรม browser ขึ้นมาในช่อง address พิมพ์ www.example.com/wp-admin/install.php. แทนที่ the "www.example.com" ด้วยชื่อจริงของเว็บของเรา จากนั้นให้เราทำตามขั้นตอนการติดตั้งของ wordpess จนแล้วเสร็จ

ถ้าหากเราได้รับ error message ในขั้นตอนนี้, แจ้งว่าไม่สามารถ connect กับฐานข้อมูล database ของเราได้, ก็เป็นไปได้ว่าเราอาจจะระบุข้อมูลชื่อ หรือรหัสผ่านฐานข้อมูลของเราผิดหรือตกไป ให้ตรวจสอบและแก้ไขอีกครั้ง ในไฟล์ชื่อ wp-config.php จากนั้น upload ไฟล์นั้นไฟล์เดยวขึ้นไปใหม่ .

ใส่ชื่อของบล็อกและอีเมลของเราเข้าไป จากนั้น Click "Continue เพื่อไปยังขั้นตอนที่ 2

WordPress จะทำการ sets up บล็อกของเราและแสดงหน้าเว็บขึ้นมาให้เราะบุชื่อผู้ใช้งานและรหัสผ่านเข้าไป แนะนำให้จดไว้กันลืมด้วยครับ เพราะเราจำเป็นต้องใช้สำหรับการ Login เข้ามาเพิ่มหรือแก้ไขบทความต่างๆของ blog

ขอแสดงความยินดีด้วยครับ ,คุณได้ติดตั้ง WordPress สำเร็จแล้ว. ต่อไปคุณก็สามารถที่จะเริ่ม post บทความของคุณได้แล้วครับ

ليست هناك تعليقات:

إرسال تعليق