ก่อนอื่นให้เราไปที่เว็บ http://www.joomlacorner.com/th/jcornernews/72-u152-ife.html เพื่อดาวโหลดโปรแกรม joomla ซึ่งอยู่ในรูปของ Zip ไฟล์ และให้เราแตกไฟล์ออกเก็บไว้ในโฟลเดอร์ให้เรียบร้อย จากนั้น ให้เราไปที่ไดร์ฟ c:\appserv\www แล้วสร้างโฟลเดอร์ตามชื่อของเวบที่เราต้องการจะสร้างขึ้นมาตามตัวอย่างผมกำหนดเป็น joomla
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjamzZPcntaNlCalgk7xIWn_XBSuzfkNPmSrFOwvEHNALJrfK2nuYBiAxjzwHpt64U48dPoQA9pUC2UWf9MEBL2Pz9Xgj7vxV2-UqRyxDwsZPxp2OZAl7j5xrCnwaPOzyUQylGcf7_WQNI/s320/joomla01.gif)
จากนั้นให้เราไปคัดลอกไฟล์โปรแกรมที่เราได้แตกไฟล์ ไปเก็บไว้ในโฟลเดอร์ joomla ,เปิดโปรแกรม browser ขึ้นมา ใส่ url เป็น http://localhost/joomla กดแป้น Enter จะได้ภาพต้อนรับเข้าสู่การติดตั้งโปรแกรม joomla ตามภาพ ซึ่งมี 6 ขั้นตอน ง่ายๆ ดังต่อไปนี้ครับ
1 การกำหนดภาษา ให้เราเลือกภาษาไทย จากนั้นคลิกปุ่ม ถัดไป ที่บริเวณมุมขวาบน
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiQQXwpk5kBI_BTQTpeD70fczGnQxvC09gAtwWV5zEhQY15aF8EvJzHstdGhcj9WU0cIR5PWjmzWYuEJursp54fTsWBzgDKTMTf_ZO7peKwXuRHw2gp5SyFV-wzCCALkQ44FsD6yA5QG5E/s320/joomla02.gif)
2 การตรวจสอบการติดตั้ง ในขั้นตอนนี้ก็ไม่ต้องกำหนดค่าอะไร ให้เราคลิก ถัดไป ได้เลย
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhkHZnaWq4QFd2uf7_k-6z4AmRhzTSLjEOVLck6mmgvt85Ylf0BKL5p4KnQ0UvxBXYB5ykQtPXv_TdM55DuNnIUW3FaqzdvKLfqmmY7BK7Rl3Ty-hcG_UV16m9SerOzUdGXqcPVWynrNj0/s320/joomla03.gif)
3 ตรวจสอบเงื่อนไขการใช้งานของโปรแกรม จากนั้นให้เราคลิก ถัดไป
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjdWdiEvupKkypdpfdJtjy54RmUIZuNonK9T4Q58-aP7o7x9vGrxRp_EESk-zkeFKmJOT5_oSDIWhPdVxKTjEPi8q7SH5cyOSchcoSY6wMr7x5mxxR1N1D2o7pFzZrODvrpejh92A3lr7A/s320/joomla04.gif)
4 กรอกรายละเอียดเกี่ยวกับฐานข้อมูลและรหัสผ่านและชื่อของฐานข้อมูล ซึ่งเราได้กำหนดไว้ในขั้นตอนการจำลอง Appserv ,โดยให้เรากำหนดค่าตามคำแนะนำเช่น ชนิดของฐานข้อมูล mysql,ชื่อโฮสต์จำลองให้ใช้ localhost,ชื่อผู้ใช้งานฐานข้อมูลให้ใช้ root,รหัสผ่านและชื่อฐานข้อมูล (ใส่ตามที่เรากำหนดในขั้นตอนการจำลอง Appserv ),จากนั้นคลิก ถัดไป
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEht1AsSnxzhdrU51WzlAXCZUy-XZfLHMefos72brc7-5CI61S23p4y4RxA1DjIXzn1edfdti5jJeMZzoaNPbVyac3tMyQMNzoRa5oljLO5aUrz5hdbws6W-k944EwOQfLFhOZ9olvh8hd0/s320/joomla05.gif)
5 การกำหนดค่า FTP เนื่องจากเราติดตั้งอยู่บนเครื่อง server จำลอง เราจึงไม่ต้องกำหนดให้คลิก ถัดไป ได้เลย
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEi08WegsQo4-Vydl700bT-3Bz-Pi3OvPgSF11uw855_BFup3h38K6zYaAY1OAvhTAv5hMqX2AOvVUWFpcy5U7pAEEZjwIiANcsAyTHFrx71xwzMuUZ64c-LdyL7oH8agpdHvsCPyHLvYVI/s320/joomla06.gif)
6 การตั้งค่าระบบหลัก ชื่อเว็บไซต์ ใส่ไปตามที่เราต้องการได้เลย ,อีเมล และรหัสผ่านในการดูแลระบบ เรากำหนดได้เลยและควรจดบันทึกกันลืมด้วยครับ ,ปุ่มติดตั้งตัวอย่างให้เราคลิกเลือกด้วย เพราะจะมีข้อมูลตัวอย่างให้เราด้วยนั้นเอง จากนั้นคลิก ถัดไป
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhcYiUD6WkeErJva2p5tnNftx4XbO1tiAmTfe_T5rdrcWIp9tWs3I47aHN3oaOugshsnGLxaxLeCqSr5jsX9-NG_yIo2rz0sx36P45A1sCtkXoe1-w-iqp4bX1vlifDHmsDq9TfWOVJg-Q/s320/joomla07.gif)
7 เสร็จสิ้นการติดตั้ง จะมีข้อความให้เราไปลบโฟลเดอร์ Installation ที่อยู่ใน Path ของ www/joomla ออกไปหรือเปลี่ยนชื่อโฟลเดอร์เป็นชื่อใหม่ก็ได้ หาไม่แล้วเราจะไม่สามารถเข้าปดูผลงานการติดตั้ง joomla ของเราได้
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgxsdd5VGCTa9lWWViiltwiwcY6C6llUReFafIpf5-SEg4mHmBmT9frVMH7EZGTBp2vunAf8BM1dRyl7DtRzpjkVNuw81zo3A6buRuwJAk5a5E8KyYy585C5NAAtLbhRxT1YsPcifixZyA/s320/joomla08.gif)
8 ภาพแสดงการ Rename ของโฟลเดอร์ installation เป็น installationed
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgmFJHYkK25malKy936nKLNDR4uuluXkNO_MnmUJphnGSnbIHOvr5iDdBYEyCtovchpzo33usjDwCDKfYel_haRa8mqluP3UyX8l7kNb1Q3zSLu4544fJjI6eVKY-wxbOKckGOqbFCdX38/s320/joomla09.gif)
9 ทดสอบผลงานของเราโดยเปิดโปรแกรมอินเตอร์เน็ต browser ขึ้นมา พิมพ์ url เป็น http://localhost/joomla กดแป้น Enter จะได้ภาพต้อนรับเข้าสู่การติดตั้งโปรแกรม joomla ตามภาพ
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEh9Qb3ElCR2IW6c8_PJkr-bcwPmS81PadSJuarYGmC7yIdfNCTtHEOpsz8VqgzaMwcSvwoPGGGjejSyHKXDHAY5yRx8nBNI2Nq3PcLA6UY2_7fOpzMXAVjrDD-T2TZW5bbL96OStZMEFUk/s320/joomla10.gif)
เป็นงัยบ้างครับ ไม่ยากอย่างที่คิดเลยใช่ไหมครับ เพียงไม่กี่ขั้นตอนหรือไม่กี่นาที เราก็ห่างจากการเป็น CMS Webmaster เพียงไม่กี่ก้าวแล้วละครับ สำหรับขั้นตอนต่อไปหลังการติดตั้งเสร็จสมบูรณ์เรียบ้อยแล้ว ก็คือการเรียนรู้ส่วนประกอบและการปรับแต่งองค์ประกอบแต่ละส่วนตามที่เราต้องการ เช่นเปลี่ยนภาพแบนเนอร์ แก้ไขเมนู เพิ่มเนื้อหา ใส่รูปเป็นต้น คิดว่าท่านผู้อ่านคงพอทำตามได้นะครับ ถ้าหากติดขัดปัญหาในจุดใดก็สอถามเข้ามาได้ครับ ยินดีตอบทุกคำถาม
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
การดาวโหลดและติดตั้ง AppServ บนวินโดว์ XP
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น